วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

คำกริยา

                     คำกริยา  คือ คำที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนามเพื่อให้รู้ว่า นามหรือสรรพนาม
นั้นทำหน้าที่อะไร หรือเป็นการแสดงการกระทำของประธานในประโยค
                      3.1 ชนิดของคำกริยา
                            คำกริยาแบ่งได้ ชนิด คือ
                            1. อกรรมกริยา คือกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับก็ได้ใจความสมบูรณ์ เช่น
                                 - ฉันยืนแต่แม่นั่ง
                                 - ไก่ขัน แต่หมาเห่า
                                 - พื้นบ้านสกปรกมาก
                           คำลักษณวิเศษณ์ที่บอกลักษณะต่างๆทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดงของประโยค 
ถือว่าเป็นกริยาของประโยค เช่น
                                  - ฉันสูงเท่าพ่อ
                                  - ดอกไม้ดอกนี้หอม
                                  - พื้นสะอาดมาก
                             2. สกรรมกริยา คือ กริยาที่มีกรรมมารับจึงจะได้ใจความสมบูรณ์ เช่น
                                  - ฉันกินข้าว
                                  - แม่หิ้วถังน้ำ
                                  - พ่อขายของ    
                              กริยาบางคำต้องมีกรรมตรงและกรรมรอง เช่น
                               - ให้  ฉันให้ดินสอน้อง   หมายถึง  ฉันให้ดินสอแก่น้อง
                               -  แจก       ครูแจกดินสอนักเรียน   หมายถึง  ครูแจกดินสอให้นักเรียน
                               - ถวาย       ญาติโยมถวายอาหารพระภิกษุ  หมายถึง 
ญาติโยมถวายอาหารแด่พระภิกษุ
                               ดินสอ   อาหาร  เป็นกรรมตรง
                               นักเรียน   พระภิกษุ  น้อง  เป็นกรรมรอง
                               3. วิกตรรถกริยา เป็นกริยาที่ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ต้องอาศัยคำนาม สรรพนาม
หรือคำวิเศษณ์มาเติมข้างหลังหรือมาขยายจึงจะได้ใจความ ได้แก่กริยาคำว่า ว่า เหมือน คล้าย เท่า 
คือ เสมือน ประดุจ แปลว่า เช่น
                                   - นายสีเป็นพ่อค้าข้าว
                                   - เธอคล้ายฉัน
                                   - ทำได้เช่นนี้เป็นดีแน่
                               
4. กริยานุเคราะห์ คือกริยาช่วย เป็นคำที่ช่วยให้กริยาอื่นที่อยู่ข้างหลังได้ความครบ
 เพื่อบอกกาลหรือบอกการกระทำให้สมบูรณ์ ได้แก่ กำลัง คง จะได้ ย่อม เตย ให้ แล้ว เสร็จ กริยานุเคราะห์
จะวางอยู่หน้าคำกริยาสำคัญหรือหลังคำกริยาสำคัญก็ได้ เช่น
                                     - เขาย่อมไปที่นั่น
                                     - เขาถูกครูดุ
                                     - พ่อกำลังมา
                                     - น้องทำการบ้านแล้ว
                                     - ฉันต้องไปกับคุณแม่วันพรุ่งนี้    
                                5.กริยาสภาวมาลา คือ กริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม จะเป็น ประธาน กรรม หรือ 
บทขยายของประโยคก็ได้ เช่น
                                     - นอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ดี         ( ประธานของประโยค )
                                     - ฉันชอบไปเที่ยวกับเธอ                 ( เป็นบทกรรม )
                                     - ฉันมาเพื่อูเขา                           ( เป็นบทขยาย ) 
                          3.2 หน้าที่ของคำกริยา
                                1. คำกริยาจะทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประโยค จะมีตำแหน่งในประโยคดังนี้
                                     ก. อยู่หลังประธาน เช่น เธอกินข้าว
                                     ข. อยู่หน้าประโยค เช่น เกิดน้ำท่วมฉับพลัน
                                2. คำกริยาทำหน้าที่เป็นส่วนขยายคำนาม เช่น
                                    - เด็กเร่ร่อนยืนร้องไห้                                 
                                       เร่ร่อน เป็นกริยาขยายคตำนามเด็ก
                                    - ปลาตาย ไม่มีขายในตลาด
                                        ตาย เป็นกริยาขยายคำนามปลา
                                3. คำกริยา ทำหน้าที่เป็นกริยาสภาวมาลาเป็นประธานกรรมหรือ
บทขยาย เช่น
                                    - อ่านหนังสือ ช่วยให้มีความรู้
                                       อ่านหนังสือ เป็นประธานของกริยาช่วย
                                    - แม่ไม่ชอบนอนดึก
                                       นอนดึก เป็นกรรมของกริยาชอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น