วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

คำสรรพนาม

                        คำสรรพนาม เป็นคำที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวมาแล้วเพื่อทำให้เนื้อความมีความสละสลวยยิ่งขึ้น

                        ชนิดของคำสรรพนาม
                        คำสรรพนามแบ่งได้ ชนิด คือ
                        1. บุรุษสรรพนาม เป็นสรรพนามใช้แทนผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ที่กล่าวถึง แบ่งออกเป็น
                            บุรุษที่ 1ได้แก่ ฉัน ข้าพเจ้า กระผม ผม ดิฉัน เรา อาตมา ข้าพระพุทธเจ้า เป็นบุรุษสรรพนามที่ใช้แทนผู้พูด
                             บุรุษที่ ได้แก่ เธอ ท่าน คุณ ใต้เท้า พระคุณเจ้า ฝ่าพระบาท แก เป็นบุรุษสรรพนามที่ใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย
                             บุรุษที่ ได้แก่ เขา พวกเขา มัน พระองค์ เป็นบุรุษสรรพนามที่เราพูดถึงหรือผูพูดกล่าวถึง
                         2. ประพันธสรรพนาม เป็นสรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยค ทำหน้าที่แทนคำนาม หรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้า และยังทำหน้าที่เชื่อมประโยคโดยให้ประโยค ประโยคมีความเชื่อมกัน ได้แก่คำว่า ผู้ ที่ ซึ่ง อัน เช่น
                             - บุคคลผู้ไม่ประสงค์ออกนาม บริจาคเงิน 100บาท
                             - ผู้หญิงที่อยู่ในบ้านนั้นเป็นย่าของผม
                             - ไม้บรรทัดอันวางบนโต๊ะเป็นของเธอ  
                        3. วิภาคสรรพนาม เป็นสรรพนามบอกความชี้ซ้ำที่ ใช้แทนนามหรือสรรพนาม ที่แยกออกเป็นส่วนๆ หรือเป็นคนๆ หรือพวก ได้แก่ บ้าง ต่าง กัน เช่น
                             - นักกีฬาต่างดีใจที่ได้ชัยชนะ
                             - เด็กนักเรียนบ้างก็อ่านหนังสือ บ้างก็ร้องเพลง
                             - พี่น้องคุยกัน        
                       4. นิยมสรรพนาม เป็นสรรพนามที่ใช้แทนนามชี้เฉพาะเจาะจง หรือบอกความใกล้ไกล ที่เป็นระยะทางให้ผู้พูดกับผู้ฟังเข้าใจกัน ได้แก่คำว่า นี่ นั่น โน่น นี้ นั้น โน้น เช่น
                            - ี่เป็นกระเป๋าใบที่เธอให้ฉัน
                            -  โน่นเป็นเทือกเขาถนนธงชัย
                            - นี่เป็นของเธอ นี้เป็นของฉัน
                       5. อนิยมสรรพนาม เป็นสรรพนามใช้แทนนามบอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจงที่แน่นอนลงไป ได้แก่ ใคร อะไร ที่ไหน ผู้ใด บางครั้งก็เป็นคำซ้ำๆ เช่น ใครๆ อะไรๆ ไหนๆ เช่น
                             -  ใครจะไปกับคุณพ่อก็ได้
                             ผู้ใดเป็นคนชั่ว เราก็ไม่ไปคบค้าสมาคมด้วย                 
                             -  ไหนๆก็นอนได้
                         6. ปฤจฉาสรรพนาม เป็นสรรพนามใช้ถามที่ใช้แทนนามที่มีเรื้อความเป็นคำถาม เช่น ใคร อะไร ผู้ใด ไหน ปฤจฉาสรรพนามต่างกับอนิยมสรรพนาม ก็คือ อนิยมสรรพนามใช้ในประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธ แต่ปฤจฉาสรรพนามใช้ในประโยคคำถาม เช่น
                                - ใครมาหาฉัน ?
                                - อะไรอยู่ใต้โต๊ะ ?
                                - ไหนเป็นบ้านของเธอ ?
                  หน้าที่ของคำสรรพนาม สรรพนามใช้แทนคำนามจึงทำหน้าที่เช่นเดียวกับคำนาม ดังนี้
                  1. ใช้เป็นประธานของประโยค เช่น
                        - เขาไปกับคุณพ่อ
                        - ใครอยู่ที่นั่น
                        - ท่านไปกับผมหรือ
                  2. ใช้เป็นกรรมของประโยค เช่น
                       - แม่ดุฉัน 
                       - เขาเอาอะไรมา
                       - เด็กๆกินอะไรๆก็ได้
                   3. เป็นผู้รับใช้ เช่น
                       - คุณแม่ให้ฉันไปสวน
                   4. เป็นส่วนสมบูรณ์หรือส่วนเติมเต็ม เช่น            
                       - คุณเป็นใคร
                  5. ใช้เชื่อมประโยค เช่น
                       - เขาพาฉันไปบ้านที่ฉันไม่เคยไป
                       - เขามีความคิดซึ่งไม่เหมือนใคร
                       - คนี่ไปกับเธอเป็นน้องฉัน
                  6. ใช้ขยายนามที่ทำหน้าที่เป็นประธาน หรือกรรมของประโยค  เพื่อเน้นความที่แสดงความรู้สึกของผู้พูด จะวางหลังคำนาม
                       - คุณครูท่านไม่พอใจที่เราไม่ตั้งใจเรียน
                       - ฉันแวะไปเยี่ยมคุณครูท่านมา
            ข้อสังเกตการใช้คำสรรพนาม
             การใช้คำสรรพนาม มีข้อสังเกตดังนี้ คือ
                    1. บุรุษสรรพนามบางคำจะใช้เป็นบุรุษสรรพนามบุรุษที่ หรือ บุรุษที่ ก็ได้
                        ท่านมาหาใครครับ                               ( บุรุษที่ 2 )
                         เธอไปกับท่านหรือเปล่า                      ( บุรุษที่ 3 )
                         เธออยู่บ้านนะ                                     ( บุรุษที่ 2 )
                   2. บุรุษสรรพนามจะต้องใช้ให้ถูกต้องตามฐานะของบุคคล วัยและเพศของบุคคล เช่น ผม ใช้กับผู้พูดเป็นชาย แสดงความสุภาพข้าพระพุทธเจ้า ใช้พูดกับพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูง เป็นต้น
                     3. คำนามอาจใช้เป็นสรรพนามได้ในการสนทนา
                            ปุ๋ยมาหาคุณพี่เมื่อวานนี้ ( ปุ๋ยใช้แทนผู้พูด )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น